SACICT ปลื้ม “ครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ” มีส่วนร่วมเป็นจิตอาสาในงาน พระเมรุมาศ
การสร้างพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีความวิจิตรงดงามมาก เบื้องหลังของความประณีตบรรจงนั้น เป็นการร้อยดวงใจครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของเหล่าช่างฝีมือทั่วประเทศที่เป็นจิตอาสามาถวายงานเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อให้จารึกเป็นผลงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ
![]() | ||
ขอบคุณภาพจาก www.posttoday.com |
ในเหล่าช่างจิตอาสานี้ หนึ่งในนั้นเป็น “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”และ “ ทายาทช่างศิลป์หัตถกรรม” ที่ได้รับการเชิดชูของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT ที่อุทิศกำลังกายด้วยความสำนึกในพระมหากรุณิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ใช้ความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และทักษะฝีมือทั้งหมดที่มี ในบทบาทของความเป็นช่าง เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม เป็น จิตอาสาร่วมปฏิบัติหน้าที่อันเกี่ยวเนื่องกับพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 คือ
![]() |
ครูหยุด หนุดหละ |
ครูสวน หนุดหละ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ปี 2559 ประเภทงานหัตถกรรม : แทงหยวก จังหวัดสงขลา ร่วมปฏิบัติหน้าที่ “ช่างแทงหยวก”
![]() |
ครูจักรริศษ์ สุขสวัสดิ์ |
ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” ปี 2558 ประเภทงานหัตถกรรม : ลงรัก ประดับมุก จังหวัดนครปฐม ร่วมปฏิบัติหน้าที่ “ช่างฉลุลายพระหีบจันทร์และพระโกศจันทร์”
![]() |
วิริยะ สุสุทธิ |
วิริยะ สุสุทธิ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ปี 2557 ประเภทงานหัตถกรรม : แทงหยวก จังหวัดเพชรบุรี ร่วมปฏิบัติหน้าที่ “ช่างแทงหยวก”
![]() |
ขอบคุณภาพจากfacebook สมชาย บุญประเสริฐ |
ครูสมชาย บุญประเสริฐ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ปี 2559 ประเภทงานหัตถกรรม : ปูนปั้นสด จังหวัดเพชรบุรี ร่วมปฏิบัติหน้าที่ร่วมทีมช่างสิบหมู่ในงานปติมากรรม “ปั้นสัตว์หิมพานต์”
![]() |
แดง แจ่มจันทร์ |
![]() |
สรพล ถีระวงษ์ |
สรพล ถีระวงษ์ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ปี 2560 ประเภทงานหัตถกรรม : ปักพัสตราภรณ์โบราณ จังหวัดนนทบุรี ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในงาน “การแสดงมหรสพสมโภช (การแต่งกายโขนหน้าพระเมรุ)”
![]() |
ชัชวาลย์ สหัสสพาศน์ |
ชัชวาลย์ สหัสสพาศน์ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ปี 2560 ประเภทงานหัตถกรรม : ปูนปั้นสด จังหวัดเพชรบุรี ร่วมปฏิบัติหน้าที่ร่วมทีมช่างสิบหมู่ในงานปติมากรรม “ปั้นสัตว์หิมพานต์”
ซึ่งทาง ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT ได้แสดงความภาคภูมิใจกับ “ช่างฝีมือทุกแขนง” ที่ต่างร่วมอุทิศกำลังของตน ใช้ทักษะความรู้ความสามารถของตน เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปะ งานหัตถกรรม งานปติมากรรม งานสถาปัตยกรรม ในการก่อสร้างพระเมรุมาศ และงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง และแสดงความจงรักภักดีต่อ พระองค์ท่าน และเพื่อเป็นการสืบทอด เผยแพร่ทักษะฝีมือ “เชิงช่าง” ของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลกด้วย...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น