Social Enterprise ศตวรรษ 21 เหมือน แตกต่าง หรือใกล้ชิด StartUp ?



เห็น 2 คำนี้ Social Enterprise หรือกิจการเพื่อสังคม กับคำว่า StartUp จะมี Perception อย่างไรบ้าง แก้ไขปัญหาสังคม  กำไรส่วนหนึ่งจากธุรกิจช่วยชุมชนนั้นๆ  หรือแก้ปัญหาธุรกิจ มีผลทางอ้อมต่อเกษตรกร ซึ่งทั้ง 2 ธุรกิจอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันอยู่บ้าง   แต่มีความใกล้ชิดกันอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจะทำเกิดการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับการทำงานกับชุมชน โดยมีเทคโนโลขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันอย่างปฏิเธไม่ได้

ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคเคยบอกว่า สิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับดีแทคคือ สตาร์ทอัพหลายบริษัทในโครงการ dtac accelerate ได้ช่วยแก้ปัญหาในการทำธุรกิจ ในหลากหลายอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนเช่น




-Tech Farm สตาร์ทอัพที่มีแพลตฟอร์ม ช่วยเหลือเกษตรกร ให้เป็น Smart Farmer ทำอุปกรณ์วัดคุณภาพน้ำ สำหรับเกษตรกรนากุ้ง บ่อปลา เพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น



-Freshket แพลตฟอร์มตลาดสดออนไลน์สำหรับร้านอาหาร ที่เชื่อมโยงสินค้าของเกษตรกรส่งตรงถึงร้านอาหาร ทำให้เกษตรกรสามารถคาดการณ์ถึงความต้องการของตลาดได้



-Finnomena แพลตฟอร์ม Wealth Management สตาร์ตอัพที่มีแพลตฟอร์มที่ช่วยให้สังคมไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ไม่เป็นภาระของรัฐบาล เช่นช่วยให้คนไทยมีเงินใช้ในวัยเกษียณ โดยช่วยวางแผน ให้ข้อมูลด้านการเงิน และสร้างเป้าหมายในการลงทุนที่นำไปใช้ได้จริง



-Health at Home เป็นแพลตฟอร์มที่ให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และคนในครอบครัวที่บ้าน โดยการอบรมผู้ดูแลที่มีความสามารถดูแลคนป่วยที่บ้านได้  ไม่ต้องนอนอยู่โรงพยาบาล เพราะการรักษาและพักฟื้นที่บ้านจะดีกว่า

เฉพาะบางส่วนที่ยกตัวอย่างข้างต้น ย่อมมีโอกาสทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้นๆ เพราะการเกิดของสตาร์ทอัพเหล่านี้ มองเห็นปัญหาสังคมที่ใกล้เคียงมากกับ SE ก่อนศตวรรษที่ 21ที่คนจำนวนไม่น้อยจะจำได้คือ แนวคิดในการสร้างธุรกิจที่สร้างสินค้าหรือให้บริการในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยตรง เช่น ธุรกิจให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในราคาไม่แพง หรือธุรกิจที่สร้างรายได้ แล้วจัดสรรกำไรส่วนหนึ่งมาช่วยแก้ปัญหาสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็คือการเกิดขึ้นของแนวคิด กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise หรือ SE) นั่นเอง

กิจการเพื่อสังคมที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง และเป็นต้นแบบของกิจการเพื่อสังคมทั่วโลก คือ ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ที่ก่อตั้งโดย โมฮัมเหม็ด ยูนุส (Mr. Muhammad Yunus) ในปี 2519  มีเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อให้แก่คนยากจนในบังคลาเทศ ที่ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ให้มีโอกาสได้รับเงินทุนเบื้องต้น เพื่อให้สามารถตั้งตัวได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่ระดับรากหญ้าในประเทศอีกด้วย จากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธนาคารกรามีนส่งผลให้นายโมฮัมเหม็ด ยูนุส ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549

อาจจะกล่าวได้ว่าภาพของสตาร์ทอัพใกล้ชิดกิจการเพื่อสังคมมากนั้น ส่วนหนึ่งมาจาก Local Alike



Local Alike เน้นการสร้างความพร้อมของชุมชน ให้สามารถจัดการท่องเที่ยวที่ดำเนินการโดยชุมชนเอง ซึ่งสำคัญมากในการสร้างรายได้และความยั่งยืนของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยว ทั้งยังเชื่อมโยงตลาดทั้งจากในประเทศและต่างประเทศมาให้ชุมชนเหล่านี้ ปัจจุบัน Local Alike ดำเนินการอยู่กับชุมชนกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ เช่น แม่สลองโฮมสเตย์ จ. เชียงราย และชุมชนเกาะยาวน้อย จ. พังงา นอกจากจะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว Local Alike ยังสร้างรายได้เข้าสู่กิจการหลักล้านบาทต่อปี

ธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อชุมชนโดย Local Alike ยังได้รับการยอมรับจากเวทีทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยมีเครื่องยืนยัน คือ การคว้ารางวัล AIS the Start Up 2014 ในหมวด Social Business  และยังก้าวไปคว้ารางวัลในโครงการ Booking.com Booster จาก Booking.com ผู้ให้บริการจองห้องพักออนไลน์ระดับโลก และได้รับเงินสนับสนุนไป 300,000 ยูโร หรือมากกว่า 11 ล้านบาท



Toolmorrow สร้างคลิปเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับคนรุ่นใหม่ ในประเด็นความเชื่อผิดๆ ในหมู่เยาวชนไทย เช่น เรื่องการไม่กล้าปรึกษาเรื่องเพศกับผู้ปกครอง หรือ ปัญหาวัยรุ่นที่มีความรู้สึกว่าจะไม่มีใครสนใจตนเองเมื่อผิดหวังในความรักจนต้องหันไปพึ่งพายาเสพติด เป็นต้น  ซึ่งเมื่อทำวิดีโอคลิปเหล่านี้มาในรูปแบบที่น่าสนใจ ทำให้มีเยาวชนเข้าชม (View) นับล้านคนต่อคลิป จนได้รับการสนับสนุนต่อยอดจาก สถานีโทรทัศน์ Thai PBS และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อต่อยอดวามสำเร็จของงานเหล่านี้ไปสู่กลุ่มผู้ชมอีกหลายล้านคนทั่วประเทศได้

ทั้งสองเกิดจากโครงการ Banpu Champions for Change ได้บ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมที่มาเข้าร่วมโครงการฯ ไปแล้วกว่า 60 กิจการ โดยในจำนวนนี้มี 36 กิจการที่ยังคงดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน คิดเป็นอัตราการอยู่รอดเท่ากับ 60 % มากกว่ากิจการสตาร์ทอพ ที่ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่ามีอัตราการอยู่รอดเพียง10% เท่านั้น โดยโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ Banpu Champions for Change (BC4C)” ร่วมกับสถาบัน Change Fusion องค์กรไม่แสวงผลกำไร ทำงานในการสร้างกิจการเพื่อสังคมมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ในปีนี้ ซึ่งนับอีกเวทีหนึ่งที่จะสร้างพลังอยากทำธุรกิจเพื่อช่วยเหลือสังคม และสานฝันของคนดีและคนเก่งเหล่านี้ให้เป็นจริง


เรื่องเกี่ยวข้อง
-Booking.com เฟ้นหา StarUp ยกให้ Local Alike จากไทยคว้า 3 แสนยูโร
http://sdbizzonline.blogspot.com/2017/06/bookingcom-starup-local-alike-3_23.html

ความคิดเห็น

  1. ต้องการสินเชื่อที่รวดเร็ว? นี่คือสินเชื่อ Atlas! เพียงกรอกแบบฟอร์มและรับสถานะการอนุมัติสินเชื่อภายใน 30 นาที ทุกอย่างเกี่ยวกับสินเชื่ออย่างรวดเร็ว. info atlasloan83@gmail .com ส่งข้อความ whatsapp +1 (443) 345 9339

    ตอบลบ
  2. สวัสดีเพื่อน ๆ ถ้าคุณต้องการสินเชื่อเงินสดในวันนี้มีเพียง บริษัท เดียวที่ฉันสามารถแนะนำให้คุณได้ซึ่งฉันได้รับเครดิต 23,000 ยูโรจากบริการทางการเงินของรัฐบาลกลางฉันแนะนำผู้ที่ขอสินเชื่อทั้งหมด บริษัท นี้ผ่านทางที่อยู่อีเมลของพวกเขา : [FEDERALOAN@GMAIL.COM] หรือ WhatsApp +18457315716 หรือส่งข้อความถึงเราใน LINE ID ที่ (fd122) ฉันได้รับเงินกู้จากพวกเขาหลังจากอ่านเกี่ยวกับข้อเสนอเงินกู้ของพวกเขาที่นี่ใน Facebook และตอนนี้หนี้สินของฉันได้รับการชำระเรียบร้อยแล้ว

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Soneva Kiri เกาะกูด สวรรค์บนดิน เป็นมิตร & รักษาสิ่งแวดล้อม : ปาณี ชีวาภาคย์

MBK พาจิตอาสาปทุมวันบุกชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เรียนรู้ "ขยะคือทองคำ”

Sustainability Marketing มาตรฐานใหม่ในโลกธุรกิจ : ฐิติภา ลักษณพิสุทธิ์